องค์กรที่ได้รับรางวัล TQA/TQC ปี 2552

2552

รางวัลการบริหารสู่ความเป็นเลิศ ประจำปี 2552 : Thailand Quality Class – TQC 2009

สายงานระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)

ชนิดธุรกิจ : บริการส่งก๊าซธรรมชาติผ่านระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ

ชื่อผู้บริหาร : คุณชาครีย์ บูรณกานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ

จำนวนพนักงาน : 315 คน

ผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้า TQA:

สร้างโอกาสการพัฒนา และปรับปรุงตนเอง มุ่งสู่ความเป็นเลิศอย่างยั่งยืน ด้วยกระบวนการประเมินตนเองโดยใช้เกณฑ์ TQA รวมถึงการรับข้อมูลป้อนกลับ (Feedback Report) เพื่อมาปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในอย่างเป็นระบบ โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล และพนักงานมีแนวคิดการทำงานแบบบูรณาการกันทั้งกระบวนการ และปฏิบัติงานโดยมุ่งบรรลุภารกิจ และวิสัยทัศน์ขององค์กร

ptt 2552

บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ธุรกิจแปรรูปเนื้อไก่และอาหารแปรรูป (สระบุรี)

ชนิดธุรกิจ : ธุรกิจอาหารแปรรูปเนื้อไก่

ชื่อผู้บริหาร : คุณนพดล ศิริจงดี รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจอาหารแปรรูปเนื้อไก่

จำนวนพนักงาน : 5,314 คน

วิสัยทัศน์ : BKP ผลิตสินค้าเนื้อไก่แปรรูปที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และเป็นส่วนหนึ่งร่วมกับบริษัทอื่น ๆ ของกลุ่ม CPF ในการบรรลุวิสัยทัศน์ ครัวของโลก

พันธกิจ: ผลิตอาหารที่มีโภชนาการพร้อมข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย ปลอดภัย มีรสชาติ มีคุณภาพมั่นคงสม่ำเสมอ รักษาสภาพแวดล้อมของโลก สร้างความผูกพันให้ลูกค้าในทุกภาคส่วนของตลาดและธุรกิจ
(HESTSEC – Healthly, Education,Safety,Tasty, Security, Environment, Customer & Market Focus)

ผลลัพธ์ที่ได้จาก

การเข้า TQA: เกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ ทำให้เกิดมุมมองในการบริหารจัดการที่ครอบคลุมในทุกมิติ อีกทั้งส่งเสริมให้เกิด “ความยั่งยืน” ของการดำเนินธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นการตอบสนองต่อความจำเป็นของธุรกิจในปัจจุบัน การเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตในทุกด้าน รวมทั้งการคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งเกณฑ์รางวัลคุณภาพแห่งชาติ สามารถเป็นเครื่องยืนยันต่อปรัชญา 3 ประโยชน์ ของท่านประธานธนินท์ เจียรวนนท์ ในการดำเนินธุรกิจนั่นคือ ประโยชน์ต่อประเทศชาติ ประโยชน์ต่อประชาชน และประโยชน์ต่อองค์กร และเป็นแนวทางที่ทำให้บริษัทฯ สามารถสนับสนุน บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ ให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ครัวของโลก”

บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

ชนิดธุรกิจ : ประกอบธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันที่มีกระบวนการผลิตที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูง เพื่อผลิตและจำหน่ายน้ำมันปิโตรเลียมสำเร็จรูปป้อนตลาดในประเทศเป็นส่วนใหญ่ ทั้งยังขยายการลงทุนให้ครอบคลุมการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐาน เอทานอล รวมถึงการลงทุนในธุรกิจไฟฟ้า ตลอดจนธุรกิจขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและปิโตรเคมีทางเรือ ธุรกิจขนส่งผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมสำเร็จรูปทางท่อ และธุรกิจให้คำปรึกษาด้านพลังงาน

ชื่อผู้บริหาร :

คุณสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

คุณสมเกียรติ หัตถโกศล ผู้อำนวยการใหญ่

วิสัยทัศน์ : บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) มุ่งที่จะเป็นผู้นำในการดำเนินธุรกิจเชิงบูรณาการด้านการกลั่นน้ำมัน และปิโตรเคมีที่ต่อเนื่องอย่างครบวงจรในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

พันธกิจ:

  1.  เป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำในด้านผลการดำเนินงานและผลตอบแทนการลงทุน
  2. ก้าวสู่องค์กรแห่งความเป็นเลิศ ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมมุ่งสร้างสรรค์สิ่งใหม่ บนพื้นฐานแห่งความเชื่อมั่นระหว่างกัน เพื่อเติบโตที่ยั่งยืน
  3. มุ่งเน้นหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีและยึดมั่นในความรับผิดชอบต่อสังคม

ผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้า TQA:

การร่วมโครงการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ ช่วยส่งเสริมให้การดำเนินงานในทุกฝ่ายของไทยออยล์สามารถเชื่อมโยง สอดประสานกันอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น พนักงานทุกคนรู้ชัดเจนว่าบทบาทหน้าที่ของตนสนับสนุนความสำเร็จขององค์กรอย่างไร ส่งสริมให้วัฒนธรรมองค์กรที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศเข้มแข็งยิ่งขึ้นไปอีก นอกจากนี้ไทยออยล์ยังได้รับรายงานป้อนกลับที่ช่วยบ่งชี้ข้อควรปรับปรุงที่บริษัทฯมองข้ามไป ทำให้บริษัทฯได้ประโยชน์อย่างมากจากการปรับปรุงพัฒนาและบูรณาการการดำเนินงานได้อย่างตรงจุดและเป็นระบบมากยิ่งขึ้น

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (โรงงานผลิตอาหารสัตว์ปักธงชัย)

ชนิดธุรกิจ : ผลิตอาหารสำหรับสัตว์บกครบวงจร

ชื่อผู้บริหาร : คุณวิโรจน์ คัมภีระ รองกรรมการผู้จัดการจัดการอาวุโส บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน)

วิสัยทัศน์ : คุณภาพที่ดี บริการที่ลูกค้าพึงพอใจ ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยและต้นทุนที่แข่งขันได้

ผลลัพธ์ที่ได้จากการเข้า TQA:

การที่องค์กรได้นำเกณฑ์ TQA มาใช้ประเมินตนเองนั้น ช่วยทำให้เห็นโอกาสในการพัฒนาองค์กรในหลายมิติที่ชัดเจนขึ้น ก่อให้เกิดการรูปแบบการปรับปรุงงานอย่างเป็นระบบ โดยมีเป้าหมาย และแนวทางการดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ชัดเจนขึ้น นอกจากนั้นองค์กรยังสามารถตอบสนองความต้องการของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มอย่างสมดุล เพื่อให้เกิดความยั่งยืนและเป็นการช่วยยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการขององค์กรให้เป็นมาตรฐานสากลต่อไป

PTF 2552